กรดไหลย้อน-3-ระยะ

กรดไหลย้อน 3 ระยะ

มีหลายคนไม่น้อยที่ต้องทรมานกับการเป็นโรคกรดไหลย้อน โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มักประสบปัญหานี้อยู่เป็นประจำ เพราะคนวัยทำงานมักมีพฤติกรรมที่เสี่ยงอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น การทำงานจนรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา บางคนเลิกงานดึกอาจทำให้ทานอาหารแล้วเข้านอนทันที หรือความเครียดจากงาน เมื่อเครียดกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือหลอดอาหารจะทำงานได้น้อยลงทำให้มีการหลั่งกรดมากขึ้น นอกเหนือจากนี้ยังเกี่ยวพันกับประเภทอาหารที่ทาน โดยเฉพาะอาหารฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารประเภทผัด ทอด รวมไปถึงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน

อาการของกรดไหลย้อน

อาการของกรดไหลย้อนแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ กรดไหลย้อนธรรมดากับกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง ซึ่งแบบที่สองนั้นมักแสดงอาการออกมามากกว่าแบบแรก เพราะเกิดจากการไหลย้อนของกรดหรือน้ำบ่อยได้ขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน โดยมีลักษณะดังนี้

  1. อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร

ได้แก่การปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอก ลิ้นปี่ รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกอยู่ในคอ กลืนลำบาก บางครั้งกลืนแล้วเจ็บด้วย รวมไปถึงเจ็บคอ แสบคอหรือปาก แสบลิ้นเรื้อรังในตอนเช้า ได้รสขมหรือรสเปรี้ยวในลำคอคือปาก รู้สึกระคายคอและมีเสมหะตลอดเวลา เรอบ่อย มีอาการคลื่นไส้ บางครั้งก็มีน้ำลายมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เป็นต้น

  1. อาการทางกล่องเสียงและหลอดลม

ได้แก่ เสียงแหบ โดยเฉพาะตอนเช้า หรือเสียงผิดปกติไปจากเดิม มีอาการไอเรื้อรัง กระแอมไอบ่อย หากเป็นโรคหอบหืดจะมีอาการแย่ลงแม้จะมีการใช้ยาแล้วก็ตาม รู้สึกเจ็บหน้าอก เป็นต้น

  1. อาหารทางจมูกและหู

ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะลงคอ ปวดหู หูอื้อบ่อย หรือเป็น ๆ หาย ๆ

หากพบอาหารเหล่านี้ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วนเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยต่อไป

การตรวจหาโรคกรดไหลย้อน

นอกเหนือจากการซักประวัติและตรวจหู คอ จมูก บริเวณท้องอย่างละเอียดแล้ว แพทย์อาจจะตรวจวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น

  1. ทดลองให้ยาลดกรดชนิด proton pump inhibitor (PPI) ขนาดสูง เช่น omeprazole, esomeprazole, rabeprazole หรือ หากใครไม่ต้องการทานยาที่เป็นเคมี ก็สามารถทานสมุนไพร ขมิ้นชัน ผงกล้วยดิบ ระยะเวลาประมาณสองสัปดาห์แล้วสำรวจอาการเพิ่มเติม
  2. ส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อหาอาการอักเสบ
  3. ส่งตรวจวัดค่าความเป็นกรด ด่าง ในหลอดอาหารและคอหอยส่วนล่าง แต่วิธีนี้อาจทำให้ผู้ป่วยทรมาน และค่าตรวจค่อนข้างแพงเพราะใช้เครื่องมือเฉพาะทาง

ความรุนแรงของโรคกรดไหลย้อน 3 ระยะ

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนอยู่แล้วนั้นจะมีอาการหนักเบาที่แตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะแรก กระเพาะอ่อนแรง

เกิดจากการเริ่มทานอาหารไม่เป็นเวลา นอนดึก หรือรวมไปถึงการดื่มน้ำระหว่างทานอาหารปริมาณเยอะ ทั้งหมดนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เป็นโรคกรดไหลย้อนระยะแรกได้ โดยจะเริ่มมีอาการดังนี้ มีลมในท้องเยอะ หลังทานอาหารมักจุกแน่นตรงลิ้นปี่หรือลำคอ ปวดเมื่อยตามตัว โดยเฉพาะบริเวณบ่า ผิวพรรณ หน้าตาไม่สดชื่น ไม่เปล่งปลั่งเหมือนทุกที นอกจากนี้ยังอาจมีแผลในกระเพาะอาหารร่วมด้วย

  1. ระยะสอง ในลำไส้มีของเสียอยู่มากทำให้เกิดเป็นปัญหาลำไส้

หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่น ๆ พอนานวันจะทำให้ระบบการขับถ่ายมีปัญหา อาหารที่ย่อยไม่หมดจะกลายเป็นของเสียที่สะสมในลำไส้เพิ่มมากขึ้น จะเริ่มมีอาการจุกแน่นมากขึ้น ขับถ่ายไม่เป็นเวลา เนื่องจากมีอุจจาระตกค้างทำให้สร้างแก๊สในกระเพาะอาหารอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เรอบ่อย และมีกลิ่นปาก ยิ่งมีแก๊สมากลำไส้ยิ่งเคลื่อนไหวน้อยลงและทำให้เกิดอาการท้องผูกร่วมด้วย

  1. ระยะสุดท้าย สารอาหารในร่างกายเริ่มน้อยลง

เมื่อลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลงแน่นอนว่าการดูดซึมสารอาหารก็น้อยลงตาม เป็นเหตุให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ จุกแน่นตลอดเวลา ท้องอืดเป็นประจำ แสบท้องเมื่อรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา เบื่ออาหารแต่หิวบ่อย ผู้ป่วยระยะนี้เม็ดเลือดจะเล็กลงส่งผลให้ออกซิเจนและน้ำในเลือดลดลงด้วยอาจทำให้นอนหลับไม่สนิท ริมฝีปากแห้ง หายใจได้ไม่เต็มปอด ซึ่งหากปล่อยไว้นานเข้าอาจกลายเป็นโรคขาดสารอาหารได้

การดูแลรักษา

วิธีการรักษาและป้องกันโรคกรดไหลย้อนได้ดีที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต หากไม่ปรับแล้วแม้จะได้รับยาหรือเข้ารับการผ่าตัด ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นไม่ยาก ลองทำตามง่าย ๆ ดังนี้

  1. ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา และทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่น้อยหรือมากจนเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด มัน หรืออาหารที่ย่อยยาก รวมไปถึงอาหารที่มีรสจัด เช่น หวานจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เป็นต้น และไม่ควรทานอาหารภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
  3. หลีกเลี่ยงจากความเครียดและสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น
  4. รับประทานอาหารประเภทพรีไบโอติกเพื่อเสริมสร้างจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ป้องกันการท้องผูก เช่น กล้วย ฝรั่ง แอปเปิ้ล หรืออาหารหมักดอง เช่น กิมจิ โยเกิร์ต เป็นต้น
  5. ไม่สวมเสื้อผ้าที่แน่นหรือรัดเกินไป

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วแพทย์อาจจะให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารทานเพิ่มเติม และควรทานยาตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ลด เลิก ยาเอง และไม่ควรหาซื้อยาทานเอง แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและยาใช้ไม่ได้ผล แพทย์อาจจะรักษาโดยการผ่าตัด และหลังจากผ่าตัดต้องใช้ยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มเติม เพราะโรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่ผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายมากที่สุด ดังนั้นแล้วควรมีวินัยการทานอาหารที่ดีไปตลอด ไม่ใช่ทำเพียงแค่พอหายจากอาการเท่านั้น การติดลูกรักษาวนซ้ำไปซ้ำมาจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายต่อมาภายหลังอย่างแน่นอน

Scroll to top